เรื่องราวความเป็นมาของไฟคาดหัว กับ เกษตรกรไทย

40 ปีก่อน เกษตรกรที่ต้องการแสงสว่างในการทำงานยามค่ำคืน เช่น หาปลา จับกบ หรือกรีดยาง จะใช้ตะเกียงแก๊ส ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมมากในยุคนั้น ตะเกียงแก๊สส่วนใหญ่ทำจากทองเหลือง ทรงคล้ายกระป๋อง วิธีใช้งานคือ จะนำก้อนแก๊สใส่ลงไปโดยมีฝาเปิดเล็กๆ อยู่ด้านบน จากนั้นใส่น้ำเข้าไปน้ำจะหยดลงไปในตะเกียงด้านล่าง ทำปฎิกิริยากับแก๊สทำให้สามารถจุดติดไฟได้ โดยใช้เข็มด้านบนฝากระป๋องเป็นตัวเปิดปิด และปรับระดับไฟ ซึ่งการใช้งานไม่สะดวก

ต่อมาจึงมีการพัฒนาจากตะเกียงแก๊สมาเป็น “ไฟคาดหัว” โดยใช้แบตเตอรี่น้ำกรด ตัวโคมไฟจะคาดที่หัว ส่วนตัวแบตเตอรี่จะใส่กล่องคาดไว้ที่เอว ซึ่งสะดวกขึ้นมากกว่าตะเกียงแก๊ส และระยะเวลาใช้งานต่อเนื่องก็นานกว่าแต่อย่างไรก็ตาม น้ำหนักตัวแบตเตอรี่และความยากลำบากในการเติมน้ำกรด เพื่อชาร์จไฟก็ยังเป็นอุปสรรคของไฟคาดหัวชนิดนี้ จึงได้มีการพัฒนาอีกขั้น โดยการนำแบตเตอรี่แห้งที่ไม่ต้องเติมน้ำกรดมาใช้แทน ขนาดของแบตเตอรี่คาดเอวเล็กและเบากว่า การเก็บไฟของตัวแบตเตอรี่ตลอดจนการชาร์จไฟก็ดีกว่าสะดวกกว่ารุ่นก่อนมากเป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงและใช้งานกันอย่างแพร่หลายในยุคนั้นก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นไฟคาดหัวแบบแอลอีดีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

Online Shopping Now!